วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ในประเทศไทย

...คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้...
.....1. สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่ายและเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่นได้ง่ายรวดเร็วและสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย
.....2. เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มคุณลักษณะพื้นฐานของเครือข่ายการเรียนรู้ คือการเรียนแบบ ร่วมมือกัน ดังนั้นระบบเครือข่ายจึงควรเป็นกลุ่มของการเรียนรู้โดยผ่านระบบการสื่อสารที่สังคม

ยอมรับ เครือข่ายการเรียนรู้จึงมีรูปแบบของการร่วมกันบนพื้นฐานของการแบ่งปันความน่าสนใจของข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
.....3. สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ

.....4. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
.....5. จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์
...เครือข่ายการเรียนรู้ในประเทศไทย...
........เครือข่ายไทยสารเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาต่างๆ ระดับมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันกว่า 50 สถาบัน เริ่มจัดสร้างในปีพ.ศ.2535
........เครือข่ายยูนิเน็ต(UNINET)เป็นเครือข่ายเพื่อการเรียนการสอนที่สำคัญในยุคโลกาภิวัตน์ จัดทำโดยทบวงมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540
........สคูลเน็ต(SchoolNet)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยได้รับการดูแลและสนับสนุนโดยศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เครือข่ายนี้เชื่อมโยงโรงเรียนในประเทศไทยไว้กว่า100 แห่ง และเปิดโอกาสให้โรงเรียนอื่นๆ และบุคคลที่สนใจเรียกเข้าเครือข่ายได้
........เครือข่ายนนทรี เป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นับเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์แบบและใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สามารถตอบสนองความต้องการใช้ของนิสิต อาจารย์ ข้าราชการ ตลอดจนการรองรับทางด้านทรัพยากรเซอร์เวอร์อย่างพอเพียง
สรุป
...การนำระบบเครือข่ายการเรียนรู้มาใช้เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนจากระบบเดิมที่จำกัดอยู่เฉพาะ
ภายใน สถานศึกษาไปสู่ระบบที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โอกาสในการเรียนรู้และการแสดงผลข้อมูลที่ต้องการซึ่งโครงสร้างการศึกษาในระบบเดิมถูกกระตุ้นให้ตื่นตัว ด้วยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ใหม่ๆ ดังนั้น รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ในอนาคตจะมีลักษณะเป็นรูปแบบการศึกษาแบบใหม่ที่สนองความต้องการและให้อำนาจแก่ผู้สอนและผู้เรียนในการเลือกลักษณะการเรียนรู้ด้วยตัวเองตามความพร้อมและ
ความสะดวกในการเรียนซึ่งถือเป็นการสร้างพื้นฐาน การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาทั้งในด้านรูปแบบ ขั้นตอนการเรียนการสอนและการปฏิบัติ
......................

ไม่มีความคิดเห็น: